บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันเป็นความนิยมในการใช้ขวดพลาสติกในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มมีเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากสะดวกในการใช้งานหาง่ายและมีราคาถูกผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะทำให้เกิดขยะมูลฝอยพลาสติก
ซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลทำให้โลกมีจำนวนขยะลดน้อยลงและช่วยลดปริมาณการนทรัพยากรธรรมชาติ
มาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลงลดการถลุงแร่บริสุทธิ์และลดปริมาณการโค่นทำลายป่าไม้ลงด้วยการหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้ภพลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวการณ์เกิดฝนกรดสำหรับ
ประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากมูลฝอยที่เก็บขน
ได้ใกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16-34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้ แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ
2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์
การนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้
กับ สิ่งแวดล้อม และช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด
ในหนทางหนึ่ง
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงคิดวิธีแก้ไขปัญหาโดยการนำขวดพลาสติกมาสร้างเป็นถังขยะเพื่อลดปัญหาขยะประเภทขวดน้ำพลาสติกและขยะมูลฝอยประเภทต่างๆและยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและยังเป็นการนำเอาของที่เหลือใช้มาทำให้มีค่าให้เกิดประโยชน์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดโลกร้อน
2.เพื่อลดขยะประเภทขวดพลาสติก
3.เพื่อปลูกฝั่งค่านิยมของคนไทยในการทิ้งขยะ
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
1.ทำให้ไม่เกิดภาวะโลกร้อน
2.ทำให้ลดขยะประเภทขวดพลาสติก
3.
ทำให้คนไทยรู้จักการทิ้งขยะ
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น
จะเก็บขยะได้เยอะไหม เหตุมีขนาดของถังขยะเล็ก
ตัวแปรตาม
สามารถใส่ขยะได้ไหม ผลสามารถใส่ขยะได้จริง
ตัวแปรควบคุม
ขนาดของขวดน้ำและรูปร่างลักษณะของขวดน้ำ
ขอบเขตของการศึกษา
1.จัดทำโครงงาน
ด้วยคอมพิวเตอร์
2.ศึกษาค้นคว้าในคอมพิวเตอร์
นิยามศัพท์เชิงปฎิบัติการ
ขวดพลาสติก ปัจจุบันพลาสติกเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามาก
ทั้งของเล่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ รวมถึงภาชนะบรรจุสินค้า
ต่างๆมากมาย พลาสติกที่นำมาใช้เหล่านี้มีหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
ในบรรดาของที่ทำด้วยพลาสติกดังกล่าว พลาสติกเพื่อการ บรรจุหีบห่อ
นับว่าได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ทั้งในเชิงการค้า การตลาด และอุตสาหกรรม
มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นสูงมาก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ภาชนะบรรจุชนิดแข็ง (rigid container) เช่น
ขวดน้ำมันพืช ขวดนม กล่องโฟมและถาดพลาสติก
2. ภาชนะบรรจุชนิดอ่อนตัวได้ (flexible container) เช่น
ถุงใส่น้ำแข็ง ถุงขนม ถุงหิ้วทั้งหลาย รวมทั้งฟิล์มห่ออาหาร สกีนแพค (skin
pack) และบริสเตอร์แพค(blister pack)เป็นภาชนะพลาสติกที่ทำจากแผ่นพลาสติก
ที่ขึ้นรูปด้วยความร้อนแล้วนำมาประกบหรือประกอบกระดาษแข็ง ซึ่งแผ่นพลาสติกดังกล่าวทำมาจากพอลลิไวนิลคลอไรด์
(PVC) ตัวอย่างเช่นเครื่องเขียน แปรงสีฟันเป็นต้น
และปัจจุบันนี้ขยะที่สำคัญเป็นตัวการของปัญหาขยะสะสมคือ
พลาสติก ซึ่งเป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้ยาก ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ถังขยะ หมายถึง ภาชนะสำหรับใส่ขยะ
รีไซเคิล หมายถึง
การจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะ
การหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก
ซึ่งวัสดุนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มของข้าพเจ้าทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ประการดังนี้
1.ถังขยะ
2.พลาสติก
3.เชือก
1.ถังขยะ คือที่รองรับ
ที่ทิ้ง หรือที่สำหรับจัดเก็บรวบรวมขยะ สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้คนไม่ต้องการ
และทิ้งมันไป ขยะมีมากมายหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว
ขยะที่ย่อยสลายได้และที่ย่อยสลายไม่ได้
ของที่ใช้ประโยชน์ได้และที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และขยะมีพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ถ้าหากว่ามีการจัดการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง
2.
พลาสติก คือ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ
บางชนิดเมื่อเย็นลงก็จะแข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร
มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง วัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้สำหรับการผลิตพลาสติกคือ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้อาจผลิตจากน้ำมันพืช และส่วนต่าง ๆ ของพืชได้เช่นกัน
ปิโตรเลียมเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกแทบทุกชนิด
ประเทศไทยมีแหล่งผลิตปิโตรเลียมหลายแห่ง แต่ไม่มีการนำมาทำประโยชน์ในด้านผลิตภัณฑ์พลาสติก
มีเพียงการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโอเลฟิน (Olefins) เช่น
มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทนและเพนเทน และสารในกลุ่มอะโรแมติก(Aromatics) เช่น เบนซีน และอนุพนธ์ของเบนซีน สารทั้ง ๒ กลุ่มสามารถนำมาผลิต ก๊าซธรรมชาติที่พบในประเทศไทยมีส่วนประกอบเป็นสารไฮโดรคาร์บอน
ที่สำคัญคือ มีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทนเป็นส่วนใหญ่
สารไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนมอนอเมอร์และโพรไพลีนมอนอเมอร์
ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นสำหรับการผลิตพลาสติกหลายชนิด
ประเทศไทยมีแหล่งลิกไนต์สำคัญ ๒ แห่งคือ
ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่จังหวัดกระบี่
ประโยชน์ของลิกไนต์นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว
ยังใช้ผลิตเบนซีน และอนุพันธ์ของเบนซิน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกบางชนิด
ได้แก่ ส่วนต่าง ๆ ของพืชและน้ำมันพืช เช่น เซลลูโลส สินแร่บางชนิด เช่น ถ่านโค้ก
และหินปูน เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแคลเซียมคาร์ไบด์
ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอะเซทิลีน นอกจากนี้ คลอรีนที่ผลิตได้จากน้ำทะเล
ตลอดจนแร่ใยหินได้นำมาใช้สำหรับผลิตพลาสติก วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารเริ่มต้นสำหรับการผลิตพลาสติกที่ได้จากแหล่งต่าง
ๆ นั้นจะมีลักษณะเป็นสารไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลเดี่ยว เรียกว่า มอนอเมอร์ ที่สำคัญ
ได้แก่ เอทิลีน ไวนิลคลอไรด์ ไวนิลฟลูออไรด์ ชนิดของพลาสติกรีไซเคิลมีทั้งหมด 7 ประเภท คือ
1.พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า
เพ็ท (PET หรือ PETE)เป็นพลาสติกใส
แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม
ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม
และใยสังเคราะห์
2.พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก
ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด
ยาสระผม เป็นต้น
3.พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า
พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา
สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม
เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร
เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป
4.พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE)
เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน
แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง
ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว
5.พอลิโพรพิลีน (Polypropylene)
เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ
ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี
นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง
ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์
ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย
6.พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส
แต่เปราะและแตกง่ายใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ
กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่
เครื่องมือเครื่องใช้
7.มิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติก Polymethyl
methacrylate (PMMA) ใช้ทำคอนแทคเลนส์ แผ่นกระจกอาคาร (glazing)
(ในชื่อทางการค้าเช่น Perspex, Oroglas, Plexiglass) ส่วนประกอบของไฟฟลูออเรสเซนส์ ส่วนปิดไฟท้ายรถยนต์
Polytetrafluoroethylene (PTFE) (ภายใต้ชื่อการค้า
Teflon) ใช้เป็นวัสดุเคลือบที่ทนความร้อน และแรงเสียดทาน Polyethyretherketone
(PEEK) (Polyketone) เป็นพลาสติกที่แพงที่สุดชนิดหนึ่ง
ทั้งนี้ในการเลือกใช้ภาชนะพลาสติกสำหรับการบรรจุ หรือเก็บอาหาร
ควรหลีกเลี่ยงพลาสติกที่มีสัญลักษณ์ #3-PVC #6-PS หรือ #7-Polycarbonate
และสามารถใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ ได้แก่ #1-PET
#2-HDPE #4-LDPE และ #5-PP
พลาสติกเป็นสารที่คงทนสลายตัวช้ามาก
การเผาไหม้ของพลาสติกบางชนิดทำให้เกิดควันพิษในอากาศ
โรงงานผลิตพลาสติกมักเป็นแหล่งก่อสารเคมีที่เป็นมลพิษปริมาณมากในบรรยากาศ
พลาสติกพีวีซี (#3-PVC) ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในการบรรจุอาหารและของเหลว
ของเล่น เครื่องมือก่อสร้าง ท่อประปา
และเป็นวัตถุดิบตั้งแต่เครื่องสำอางจนถึงม่านห้องน้ำ
จะมีสารเคมีที่เป็นพิษพวกอะดิเพท (adipates) และพะธาเลท (phthalates)
อยู่เป็นปริมาณมาก สารเหล่านี้ช่วยให้พีวีซีมีความยืดหยุ่น(plasticizer)
และอาจถูกปลดปล่อยออกจากพีวีซีเมื่อมีการสัมผัสกับอาหาร
องค์การอนามัยโลกรายงานว่าสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพีวีซีเป็นสารก่อมะเร็ง
สหภาพยุโรปห้ามการใช้ DEHP (di-2-ethylehexyl phthalate) สำหรับของเล่นเด็ก
DEHP ป็น plasticizer ที่นิยมใช้มากที่สุดในการผลิตพีวีซี
องค์การอีพีเอ (Environmental Protection Agency) ซึ่งเป็นองค์การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา
กำหนดให้ โพลีสตัยรีน (#6-PS) เป็นหนึ่งในชีวพิษที่อาจพบในน้ำดื่ม
เนื่องจากกระบวนการผลิตโพลีสตัยรีนทำให้เกิดมลพิษในบรรยากาศ และทำลายชั้นโอโซน
นอกจากนี้ภาชนะบรรจุอาหารประเภทสตัยโรโฟม อาจปล่อยสารประกอบบางชนิด พลาสติกในกลุ่ม
#7-other ซึ่งมักหมายถึง โพลีคาร์บอเนท
อาจปลดปล่อยบิสฟีนอล-เอ (bisphenol-A, BPA) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต
และจัดเป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน (hormone disrupter) และอาจถูกปลดปล่อยสู่อาหารและเครื่องดื่ม
สารชนิดนี้จะมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ในงานวิจัยพบว่า BPA ทำให้น้ำหนักของสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น และมีผลต่อระดับฮอร์โมนในเลือด
นอกจากนี้ยังพบว่าการได้รับ BPA เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดการต้านอินซูลิน
(insulin resistance) ซึ่งนำไปสู่การอักเสบและโรคหัวใจ
ดังนั้น
จึงไม่ควรนำขยะพลาสติกไปทิ้งรวมกับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด
ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ เป็นต้น
แต่ควรแยกทิ้งโดยแยกประเภทของขยะพลาสติกและล้าง ทำความสะอาดก่อนจะนำไปทิ้ง
เพื่อที่จะได้นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป
เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
3. เชือก คือ เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์อย่างหนึ่งที่มีความเก่าแก่
และมีการใช้มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยมีบทบาทและถูกใช้งานในอารยธรรมต่างๆ
ดังปรากฎในหลักฐานของอารยธรรม ในยุคหินเมื่อ 10,000 ปีมาแล้วซึ่งได้มีการใช้เชือกทำเป็นตาข่ายสำหรับจับสัตว์น้ำ
ใช้สำหรับปีนเก็บน้ำผึ้ง ใช้ในงานก่อสร้าง
โดยเชือกที่ผลิตขึ้นมามีลักษณะที่สั้นและเกิดจากการใช้มือบิดเป็นเกลียวหรือถักให้เป็นเปีย
โดยใช้เส้นใยจาก ป่านมะนิลา ป่านชนิดต่างๆ ไหม ปาปิรุส ในการผลิตเชือกสมัยต่อมาเชือกได้ถูกพัฒนาการให้มีความยาวมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการลากจูง
รัดสิ่งของ ในระหว่างการขนส่งสิ่งต่างๆ หรือแม้กระทั่งการปีนเขา ในปี ค.ศ. 1950
-1960 ได้มีการค้นพบเส้นใยไนลอน และเส้นใยสังเคราะห์อื่นๆ
ดังนั้นจึงมีการประยุกต์นำเอาเส้นใยไนลอน และเส้นใยอื่นๆ
มาประยุกต์ใช้สำหรับผลิตเชือกเรื่อยมา
แต่อย่างไรก็ตามเส้นใยธรรมชาติก็ยังคงมีการใช้ผลิตเชือกอยู่ด้วยเช่นกันแต่ปริมาณการใช้งานน้อยกว่าเส้นใยสังเครา
บทที่3
วิธีดำเนินการศึกษา
วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
1.ขวดพลาสติก
2.เชือก
3.เข็ม
4.คัตเตอร์
วิธีการศึกษา
1.คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ
2.ศึกษาข้นคว้าข้อมูลว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด
และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ
และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3.เตรียมอุปกรณ์ที่จะทำโครงงาน
4.นำขวดน้ำมาตัดหัวตัดท้ายแล้วผ่ากลาง
5.นำขวดที่ผ่าแล้วมาทำให้แบน
6.ใช้เชือกร้อยขวดให้เป็นทรง
7.แล้วทำฐานถังขยะโดยนำขวดที่ตัดไว้มาต่อให้เป็นฐานถังขยะ
8.ได้รูปทรงของถังขยะ
9.นำเสนอ
10.ประเมินผล
ให้ครู ประเมินผลงาน
บทที่4
ผลการศึกษา
การประดิษฐ์ถังขยะจากขวดพลาสติกสามารถทำได้ง่าย
เนื่องจากขวดพลาสติกมีรูปทรงแปลกใหม่สะดุดตา
สามารถนำมาประดิษฐ์ได้เลยโดยไม่ต้องแต่งเติม หรือดัดแปลง เป็นเศษวัสดุเหลือใช้
ที่หาได้ง่ายทั่วไป และวิธีทำไม่ยากจนเกินไป มีความคงทนแข็งแรง สวยงาม
ดึงดูดความสนใจน่ามอง ลดปริมาณขวดน้ำพลาสติก สามารถนำไปใช้ที่บ้าน ตามต้องการ
เป็นการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการลดภาวะโลกร้อน
ลดปริมาณการเผาขยะทำให้ลดแก็สพิษในอากาศ
และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้อีกด้วย
บทที่5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
จากการประดิษฐ์ถังขยะจากขวดพลาสติก
สรุปผลได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ ลดภาวะขยะพลาสติก มีความสวยงาม
และสามารถนำมาใช้เป็นถังขยะได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงงาน
1.เพื่อลดปริมาณขวดพลาสติก
2.เพื่อลดโลกร้อน
3.เพื่อให้มีขยะน้อยลง
4. ฝึกความคิดสร้างสรรค์
5. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ข้อเสนอแนะ
1. ควรใช้วัสดุธรรมชาติมามาทดแทนขวดพลาสติกในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเป็นการ
ลดขยะจากขวดพลาสติก เป็นการลดปัญหามลพิษ
2. ควรนำขวดพลาสติกไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น
ๆ อีกด้วย